วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของจริยธรรม จริยธรรมทางธุรกิจ จริยธรรมในทางพระพุทธศาสนา องค์ประกอบของจริยธรรม ประเภทของจริยธรรม โครงสร้างในด้านคุณลักษณะของจริยธรรม

1.ความหมายของจริยธรรม
ความหมายของ จริยธรรมจริยธรรม หมายถึง ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ เป็นธรรมะทางใจที่ควบคุมพฤติกรรม ความประพฤติที่ดีที่ชอบที่ถูกที่ควร เป็นเรื่องของความรู้สึกในการพัฒนาตนเอง ที่มุ่งหมายให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดำรงชีวิตอยู่อย่างบริบูรณ์เปี่ยมไปด้วยความดีทั้งกายวาจาและใจจริยะหรือ จริยา คือ ความประพฤติ การกระทำ เมื่อสมาสกับคำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ จึงเป็นความประพฤติที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรม ชอบธรรม เป็นธรรมชาติจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน ควบคู่กับ วินัย อันเป็นข้อห้ามหรือข้อบังคับให้ต้องปฏิบัติ สำหรับข้าราชการก็ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการดังนั้น จริยธรรม จึงเป็นความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องดีงาม รวมถึงการทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบการและดำรงชีวิตอย่างฉลาด ด้วยสติและปัญญา รู้เหตุรู้ผลรู้กาลเทศะ กระทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เสียสละอุทิศตน มุ่งมั่นและบากบั่นจริยธรรมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่าและทุกอาชีพ สังคมจะอยู่รอดและเป็นสุขได้ ก็ด้วยจริยธรรม
• ถึงสูงศักดิ์ อัครฐาน สักปานใด
• ถึงวิไล เลิศฟ้า สง่าศรี
• ถึงฉลาด กาจกล้า ปัญญาดี
• ถ้าไม่มี คุณธรรม ก็ต่ำคน

ความสำคัญของจริยธรรม จริยธรรม จึงเป็น…เครื่องมือยุทธศาสตร์ของชาติ และ สังคมเครื่องชี้วัดความเจริญความเสื่อมของสังคมหัวใจของการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่เหนือกว่าความเจริญทางวัตถุรากฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข การยอมรับนับถือซึ่งกันและกันของทุกคนและทุกกลุ่มในสังคมรากฐานของความเข้มแข็งของชาติ กองทัพ และกลุ่มอาชีพเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นอำนาจกำลังรบที่ไม่มีตัวตน และเป็นตัวคูณอำนาจกำลังรบ
http://oa-umporn.blogspot.com/2008/07/blog-post_05.html

2.จริยธรรมทางธุรกิจ : การพัฒนาคุณภาพจิตที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของมนุษย์ในสังคม

การบริหารธุรกิจอย่างมีจริยธรรมมีองค์ประกอบหรือเกณฑ์ชี้วัดอย่างไรเป็นประเด็นที่ต้องสร้างให้ชัดเจนและเป็นหลักสากลให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ผู้บริหารกับจริยธรรมทางธุรกิจเป็นเรื่องของการเตือนสติในการประกอบอาชีพของตนว่า สิ่งใดพึงกระทำสิ่งใดพึงละเว้น แม้ข้อกำหนดทางจริยธรรมจะเป็นปกติวิสัยที่องค์การทั่วไปต้องสร้าง

ความตื่นตัวในเรื่องจริยธรรมทางธุรกิจของประเทศไทยเป็นไปค่อนข้างช้า จนเมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2540 ธุรกิจต่างล้มเป็นจำนวนมากซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นเพราะการบริหารงานที่ขาดจริยธรรมและความโปร่งใส จากนั้นจึงได้มีการรณรงค์ในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ไม่เพียงเพราะต้องการกลไกที่จะป้องกันธุรกิจหรือองค์การที่ปราศจากความรับผิดชอบต่อกลุ่มผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชน แต่ยังเป็นการจัดระบบการบริหารเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของการประกอบการที่ดีของประเทศทางตะวันตกที่ประเทศไทยจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยตามกระแสของโลกาภิวัตน์

องค์การธุรกิจในยุคใหม่ต้องบริหารงานโดยคำนึงถึงจริยธรรม รับผิดชอบต่อผู้บริโภคด้วยการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ รับผิดชอบต่อพนักงานด้วยการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม และรับผิดชอบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังต้องดำเนินกิจการด้วยความโปร่งใสพร้อมจะให้สาธารณชนตรวจสอบเสมอ

จริยธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทุกด้านขององค์การ การทำงานภายใต้ระบบทุนนิยมและกระแสเศรษฐกิจใหม่ถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องจริยธรรมจะสร้างผลกระทบในทางลบได้อย่างรุนแรงและกว้างขวางมากกว่ายุคใด ๆ

ในปัจจุบันมีผู้กล่าวถึงความสำคัญของ “จริยธรรม” กันมากขึ้น เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ได้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงความบกพร่อง และความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมหรือจริยธรรมของผู้คนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว วัฒนธรรมตะวันตกซึ่งเน้นการสร้างสรรค์ทางวัตถุ และการแสวงหาความสุขสบายให้แก่ชีวิตด้วย การพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องอำนวยความสะดวก และรูปแบบของความบันเทิงในลักษณะต่าง ๆ ได้แพร่กระจายเข้าสู่สังคมเมืองของไทยอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว อิทธิพลของการติดต่อสื่อสารและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นสิ่งจูงใจให้ผู้คนในชนบทหลั่งไหลกันอพยพเข้าสู่เมืองหลวงอย่างมากมายและต่อเนื่อง จิตใจของผู้คนที่ยึดเอาประโยชน์ของตนเป็นหลักไม่คำนึงถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้อื่น การช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนไทยลดน้อยลงไปทุกทีและจะเพิ่มพูนปัญหาให้แก่สังคมมากขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ความหมายของจริยธรรม

จริยธรรม (ethics) สามารถใช้คำไทยได้หลายคำนอกเหนือจากคำว่าจริยธรรม เช่น หลักจรรยา หรือ จรรยาบรรณ หรือ ธรรมะ หรือ คุณธรรม ซึ่งมีความหมายว่า ข้อพึงปฏิบัติ

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 คำว่า ธรรม หมายถึงความดี ส่วนคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ดังนั้นความหมายของ จริยธรรม คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ

มีนักปราชญ์ของวงการศึกษาไทยหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่าจริยธรรม (วริยา ชินวรรณโณ 2541) ไว้ดังนี้

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) อธิบายว่า จริยธรรม ตามหลักพุทธศาสนา คือ มรรค หรือมัชฌิมาปฏิปทา พรหมจารีหรือผู้ประพฤติธรรม หรือ ผู้มีจริยธรรม ตามหลักพุทธศาสนา คือ ผู้ดำเนินชีวิตตามมรรค หรือปฏิบัติตาม มัชฌิมาปฏิปทา (หลักการครองชีวิตที่ถูกต้องสมบูรณ์ของมนุษย์ที่จะนำไปสู่จุดหมาย คือ ความดับทุกข์)

กระมล ทองธรรมชาติ อธิบายว่า จริยธรรม หมายถึง ธรรม หรือหลักความประพฤติที่ควรแก่การยึดถือและปฏิบัติตาม ก่อ สวัสดิพาณิชย์ อธิบายว่า จริยธรรม คือ ประมวลความประพฤติและความนึกคิดในสิ่งที่ดีงามเหมาะสม

ความคิดในเชิงจริยธรรมมีกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ในยุคโบราณหลายต่อหลายท่านต่างกล่าวถึงและพยายามสั่งสอนให้ผู้คนประพฤติปฏิบัติกันในแนวทางที่ถูกต้องชอบธรรม กระทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและสังคม จนถึงปัจจุบันแนวความคิดในเรื่องจริยธรรมได้พัฒนามาเป็นลำดับ มีผู้กล่าวถึง "จริยธรรม" ในความหมายที่แตกต่าง ๆ กันหลายลักษณะ เช่น

ดวงเดือน พันธุมนาวิน กล่าวว่า จริยธรรม เป็นคำที่มีความหมายกว้างขวาง หมายถึงลักษณะทางสังคมหลายลักษณะของมนุษย์ ลักษณะและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมจะมีคุณสมบัติประเภทใดประเภทหนึ่ง ใน 2 ประเภท คือ

1. เป็นลักษณะที่สังคมต้องการให้มีอยู่ในสมาชิกของสังคมนั้น เป็นพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบให้การสนับสนุน และผู้กระทำส่วนมากเกิดความพอใจว่า กระทำนั้นเป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสม
2. เป็นลักษณะที่สังคมไม่ต้องการให้มีอยู่ในสมาชิกของสังคม เป็นการกระทำที่สังคมลงโทษ หรือ พยายามกำจัด และผู้กระทำพฤติกรรมนั้นส่วนมารู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่สมความ ฉะนั้นผู้ที่มีจริยธรรมสูงคือผู้ที่มีลักษณะและพฤติกรรมประเภทแรกมากและประภทหลังน้อย ลักษณะของมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมแบ่งออกได้เป็น ความรู้เชิงจริยธรรม ทัศนคติเชิงจริยธรรม เหตุผลเชิงจริยธรรมและพฤติกรรมเชิงจริยธรรม (ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2520)

สุมน อมรวิวัฒน์ สรุปความหมายของจริยธรรมไว้ว่า จริยธรรม คือ แบบแผนของความประพฤติที่ยึดหลักของศีลธรรม ลักษณะที่แตกต่างระหว่าง “ศีลธรรม” และ “จริยธรรม” ก็คือศีลธรรมเป็นหลักการของคุณงามความดีที่มนุษย์ยึดถือปฏิบัติ อิงหลักศาสนาและมีหลักเป็นสากล ส่วนจริยธรรมนั้นแม้จะมีความหมายบางส่วนคล้ายคลึงกับคำว่าศีลธรรม แต่มักเป็นคำที่ใช้ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ เน้นลักษณะของความประพฤติที่สังคมนิยมชมชอบว่าถูกต้องเหมาะสม (สุมน อมรวิวัฒน์ 2530)

สำหรับนักคิดในประเทศตะวันตก ก็ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับจริยธรรมและพฤติกรรมทางจริยธรรมไว้ (ชัยพร วิชชาวุธ 2530) ดังนี้

พีอาเจต์ (Piaget 1960) กล่าวว่า จริยธรรม คือ องค์ประกอบของกฏเกณฑ์ที่บุคคลยอมรับว่าถูกต้องดีงามควรประพฤติปฏิบัติตนเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคม

บราวน์ (Brown 1965) ได้อธิบายว่า จริยธรรมหมายถึงระบบของกฏเกณฑ์ใช้ในการวิเคราะห์ความประพฤติที่ผิดหรือถูกของบุคคล จริยธรรมมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาจากประสบการณ์ของบุคคล โดยจริยธรรมประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ความรู้ (knowledge) ความประพฤติ (conduct) และ ความรู้สึก (felling)

โดลเบอร์ (Kohlberg 1969) ให้การอธิบายว่า จริยธรรมเป็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเป็นกฎเกณฑ์และมาตรฐานพฤติกรรมในสังคม ซึ่งบุคคลจะพัฒนาขึ้นจนมีจริยธรรมของตนเอง โดยอาศัยกฎเกณฑ์จากสังคมเป็นสิ่งตัดสินว่าการกระทำนั้นถูกหรือผิด

ฮอฟแมน (Hoffman 1979) ได้จำแนกองค์ประกอบของจริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับที่บราวน์ได้กระทำ กล่าวคือ เขาเชื่อว่า จริยธรรมเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใน (internalization) ขององค์ประกอบจริยธรรม 3 ประการ ที่เป็นอิสระจากกัน คือความคิดทางจริยธรรม (moral thought) ความรู้สึกทางจริยธรรม (moral felling) และพฤติกรรมจริยธรรม (moral behavior)

โดยการประมวลจากความหมายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ขอสรุปนิยาม ความหมายของ “ จริยธรรม ” ไว้คือ จริยธรรม หมายถึง หลักความประพฤติ แนวทาง แบบแผน หรือหลักการที่ว่าด้วยความดีงามซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักการของศาสนา หรือสิ่งที่คนในสังคมยอมรับว่าเป็นความดีความถูกต้อง เป็นต้นว่า หลักของศีล สมาธิ หลักของการยึดประโยชน์ส่วนรวม หรือหลักของการพัฒนาประเทศ ฯลฯ เพื่อความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข การปลูกฝังจริยธรรม จึงเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพจิตที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของมนุษย์ในสังคม

http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=1590.0

3. พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในวิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นมีความเป็นเหตุเป็นผล สามารถตอบคำถามหรือข้อสงสัยที่สลับซับซ้อนได้เป็นอย่างดี จึงสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษา เกี่ยวกับจริยธรรมได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทฤษฎีทางจริยธรรมที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ดังนั้นเราจึงศึกษาแนวคิดในพระพุทธสาสนาเพื่อที่จะนำหลักและวิธีการมาพัฒนาจริยธรรมตามแนวทางของพระพุทธศาสนา

http://www.somreuthai.bcnice.net/3/Untitled-1.html

4.องค์ประกอบของจริยธรรม

จริยธรรมนั้นถือได้ว่าเป็นเครื่องกำหนดหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิต เป็นแนวทาง
ในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย ซึ่งในสังคมหรือในทุกองค์กรต้องมีข้อปฏิบัติ ปฏิบัติร่วมกันจึงจะสามารถอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะได้มีดังนี้
1. ระเบียบวินัย (Discipline) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะต้องมีในองค์กร ซึ่งถ้าองค์กร
ใดขาดกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวินัย ที่จะเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันแล้ว โดยแต่ละคน ต่างคนต่างทำอะไร ได้ตามความต้องการ ไม่มีผู้นำ ไม่มีระเบียบแบบแผนให้ยึดถือ ในแนวเดียวกัน ถ้าหาเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ หน้าที่ เกิดความ เดือดร้อน และความไม่สงบในองค์กรจึงอาจทำให้องค์กรไม่สามารถประสบความ สำเร็จตามเป้าหมายขององค์การได้ ดังนั้นองค์กรทุกองค์กรต้องมีระเบียบวินัย






2. สังคม (Society) เป็นการรวมกลุ่มกัน ประกอบกิจกรรมอย่างมีระเบียบ
แบบแผนจะก่อให้เกิด ความเรียบร้อย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามซึ่งการ รวมกลุ่ม กันประกอบกิจกรรมในด้านธุรกิจนั้น หากทุกองค์กร สามารถที่จะ ให้ ความ ร่วมมือ ให้เกิดการพัฒนาสังคมหรือตอบแทนคืนให้สังคมโดยไม่เห็นแก่ ่่ประโยชน์ ส่วนตน จะทำให้สังคมเกิดสิ่งดี ๆ เช่น เกิดเหตุการณ์ คลื่นยักษ์สึนามิที่ภาคใต้ จะเห็นได้ว่าหน่วยต่าง ๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน หรือแม้กระทั่งคนไทยทั้งประเทศ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ด้วยการบริจาคทั้ง ทุนทรัพย์ และกำลังเท่าที่ สามารถช่วย ได้ในการทำกิจกรรมให้การช่วยเหลือใน รูปแบบต่าง ๆซึ่งจะเห็นได้จากกิจกรรม ทางสังคมนี้ ที่จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สังคมไทย นั้น เป็นสังคมที่เปี่ยมด้วย น้ำใจที่ ี่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง
3. อิสระเสรี (Autonomy) โดยทั่วไปแล้ว บุคคลผู้สำนึกในมโนธรรมและมี
ประสบการณ์ชีวิต ย่อมจะเป็นบุคคลที่ความสุข ที่จะอยู่ในระเบียบวินัย สำหรับ คนไทยไทยนั้นค่านิยม ยังหมายรวมถึง อิสระ เสรีภาพ ซึ่งเมื่อได้รับการขัดเกลาแล้ว สามารถปกครองตนเองให้อยู่ในทำนองคลองธรรมได้ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ คณะกรรมการ โครงการศึกษาจริยธรรม ได้ทำการกำหนดจริยธรรมที่ควรปลูกฝัง
แก่คนไทยไว้ 8 ประการดังนี้

1. การใฝ่สัจจะ คือ การยึดถือความจริง ศรัทธาในสิ่งที่มีหลักฐานข้อมูลรองรับ
ที่สามารถพิสูจน์ ตรวจสอบได้ แสวงหาความรู้ ความจริงได้
2. การใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา คือ การใช้กระบวนการค้นหาความรู้
ความจริงเป็นทางออกอย่างมีเหตุผลที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาหรือจัดอุปสรรค์ข้อ ยุ่งยาก ต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่
3. เมตตากรุณา คือ การเสียสละเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น โดยการเสียสละนั้นไม่
ก่อให้เกิดเดือนร้อนต่อตนเอง แต่ช่วยให้ผู้อื่นได้พ้นจากความทุกข์กังวล

4. สติ- สัมปชัญญะ คือ การที่บุคคลนั้นมีความรู้ตนเองอยู่เสมอว่า ตนกำลัง

ทำอะไรอยู่ และสามารถที่จะเตือนตนเองให้สามารถตัดสินใจที่แสดงออกมาทางด้าน การประพฤติ ปฏิบัติในทางที่ถูกต้องที่ด้วยสติ

5. ไม่ประมาท คือ การที่จะกระทำอะไรก็ตาม จะต้องมีการวางแผน เพื่อเตรียม
เตรียมพร้อม โดยต้องมีการคาดการณ์ เพื่อรับผลที่ตามมาของการกระทำใด ๆ ของตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอจนเกิดเป็นนิสัย
6. ซื่อสัตย์สุจริต คือ การมีจิตใจและการปฏิบัติตนที่ตรงต่อความเจริญความ
ถูกต้อง ความดีงาม ตรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ตรงตามระเบียบแบบแผนและ กฎเกณฑ์ต่อคำมั่นสัญญา ซึ่งหากปฏิบัติแบบนี้แล้ว จะก่อให้เกิดการยอมรับในที่อยู่ ร่วมกันในสังคมได้
7. ขยัน – หมั่นเพียร คือ การมีความพอใจต่อหน้าที่การงานของตนที่ได้
รับผิดชอบ จนสิ้นสุดกระบวนการในการทำงาน
8. หิริ – โอตตัปปะ คือ การละอาย และแกรงกลัวต่อการประพฤติชั่ว การผิด
ศีลธรรมต่อมาได้มีการเพิ่มคุณลักษณะจริยธรรมไทย 11 ประการ คือ

1. การมีเหตุผล 2. ความซื่อสัตย์ 3. ความรับผิดชอบ
4. ความเสียสละ 5. ความสามัคคี 6. ความกตัญญูกตเวที
7. การรักษาระเบียบวินัย
8. การประหยัด 9. ความยุติธรรม
10. ความอุตสาหะ 11. ความเมตตากรุณา


ประเภทของจริยธรรม

จากการศึกษาเราสามารถสรุปประเภทของจริยธรรมได้ 2 ระดับคือ

1. จริยธรรมภายใน เป็นสิ่งที่อยู่ภายในอาจจะไม่แสดงออกซึ่งเป็นจริยธรรม
ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ของบุคคล และสภาวะของจิตใจของแต่ละ บุคคล และบุคคล เช่น ความปราศจากอคติ ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที มีความเมตตากรุณาเป็นต้น
2. จริยธรรมภายนอก คือ พฤติกรรมภายนอกที่บุคคลแสดงออกมาซึ่งสามารถ
สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่ามีความซื่อตรง มีสัจจวาจา มีระเบียบวินัย รับผิดชอบ เอาใจใส่ต่อหน้าที่การงาน มีความขยันหมั่นเพียร ความประณีต สุภาพอ่อนน้อม ให้ความช่วยเหลือ เอื้ออาทร เคารพกฎกติกา มีมารยาท เป็นต้น


http://pdc.ac.th/chinawat/CAI51/A.kanitta/unit1_2.html

5.ประเภทของจริยธรรม
การแบ่งประเภทของจริยธรรม แบ่งอกกเป็น 2 ประเภท ดั้งนี้ (พิภพ วัชเงิน : 2545,5)
1. จริยธรรมภายนอก เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรม
ภายนอกที่ปรากฏให้เป็นที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบ
เรียบร้อยความมีวินัย การตรงต่อเวลาเป็นต้น
2. จริยธรรมภายใน เป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติ
ของบุคคลิตามสภาพของจิตใจและสภาวะแวดล้อม เช่น ควงาใมซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความ
เมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวทีเป็นต้น
คุณลักษณะของจริยธรรม
คุณลักษณะของจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของจริยธรรมเพื่อให้เห็นเด่นชัด
ในด้านหนึ่งและมีความแตกต่างจากจริยธรรมด้านอื่น ๆ ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ
จัดการด้านการศึกษาหลายหน่วยงาน ได้กำหนดโครงสร้างจริยธรรม พร้อมทั้งกำหนด
คุณลักษณะของจริยธรรม ไว้ดั้งนี้
1. ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียดรอบคอบ มี
ความพากเพรียรพยายามเพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย
2. ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็น
จริง ทั้งการ วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
3. ความมีเหตุผล หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพิสูจน์
สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประจักษ์โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นในความคิดของตนเอง
4. ความกตัญญูกตเวที หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ
หรือสิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณ
อาจกระทำด้วยสิ่งของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม
5. ความอุตสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงาน
หรือกิจกรรมที่ทำด้วยขยันขันแข็งกระตือรือร้น อดทน ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรค
ขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย่อท้อ
6. ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพียงเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน การให้ความร่วมมือ
ในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน
7. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่าง
ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคม กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ กฏหมายและศลีธรรม
8. ความเสียสละ หมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วย
ทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังปัญญาของตนเอง
9. ความประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะ
พอควร เพื่อให้เกิดประโยชนสูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้มเฟือยจนเกิดฐานะของตน
10. ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราว
ต่างๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่มีความลำเอียงหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
11. ความเมตตากรุณา หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความ
สงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุข์
แหล่งที่มาของจริยธรรม
ต้นกำเนิดที่เป็นแหล่งที่มาของจริยธรรม มีด้วยกันหลายทาง มีผู้กล่าวถึงแหล่งที่มาอัน
เป็นบ่อเกิดของจริยธรรม ดังนี้ (อมรา เล็กเริงพันธุ์ : 2542, 13 - 14)
1. ปรัชญา วิชาปรัชญาเป็นผลที่เกิดจากการใช้สติปัญญาของผู้ที่เป็นนักปราชญ์หรือนัก
ปรัชญา จนเกิดเป็นหลักแห่งความรู้และความจริงที่พิสูจน์ได้สาระโดยทั่วไปของปรัชญามักจะ
กล่าวถึงลักษณะของชีวิต และธรรมชาติของมนุษย์ในแง่ที่พึงปรารถนา หลักการและเหตุผล
ของปรัชญามักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความดี ความถูกต้อง ความเหมาะสม ซึ่งสามารถยึดถือเป็นแนว
ปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้
2. ศาสนา เป็นคำสอนที่เป็นหลักประพฤติปฏิบัติหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตของ
บุคคล ตามแต่ศาสนาของเจ้าลัทธิหรือศาสนาจะเป็นผู้กำหนดหรือวางแนวทาง คำสอนของแต่
ละศาสนาถึงแม้จะแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม แต่ทุกศาสนาก็มี
หลักคำสอนและวิถีทางที่คล้ายคลึงกัน คือมุ่งเน้นที่จะให้เกิดความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันใน
สังคมและเกิดสันติสุขแก่ชาวโลก ดังนั้นศาสนาจึงเป็นตัวกำหนดศีลธรรม จรรยา เพื่อให้คนใน
สังคมได้นำไปประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผล และบรรลุจุดมุ่งหมาย
3. วรรณคดีวรรณคดีของทุกชาติทุกภาษาย่อมมีแนวคิด และคำสอนที่เป็นเอกลักษณ์
ของตนเอง ชาติที่มีความเจริญทางวัฒนธรรม ย่อมมีแนวคิดและคำสอนที่เป็นแนวทางสำหรับ
ประพฤติปฏิบัติโดยถูกเก็บรักษาและเผยแพร่ในรูปของวรรณคดีฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า
วรรณคดีนับเป็นแหล่งกำเนิดหรือรวบรวมแนวคิดทางจริยธรรมได้อีกทางหนึ่ง แนวคิดหรือคำ
สอนในวรรณคดีไทยที่นำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่าง เช่น สุภาษิต พระ
ร่วง โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง เป็นต้น
4. สังคม การที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคมได้ก็เนื่องมาจากมีข้อกำหนดที่เป็นที่ยอมรับ
และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และถือปฏิบัติสืบทอดกันมา
ยาวนาน อันได้แก่ จารีต ประเพณี ขนบธรรมเนียมต่างๆ ข้อกำหนดทางสังคมเหล่านี้จึงเป็นที่มา
และเป็นตัวกำหนดมาตรฐานและคุณค่าทางจริยธรรมของแต่ละสังคม
5. การเมืองการปกครอง หลักในการปกครองที่นำมาใช้ในแต่ละสังคม โดยทั่วไปมัก
เกิดจากการผสมผสานกันของหลักการต่างๆ ทั้งที่เป็นหลักศาสนา และหลักปรัชญา จารีต
ประเพณี แล้วพัฒนาขึ้นเป็นกฏข้อบังคับของสังคม ตลอดจนตราเป็นกฏหมายต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อ
ต้องการให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม
สรุป
จริยธรรมเป็นหลักหรือแนวทางของความประพฤติของมนุษย์ในสังคม ช่วยทำให้สังคมอยู่
รวมกันอย่างสงบสุข เป็นสิ่งจำเป็นทั้งคุณค่าและประโยชน์อย่างมากมายแก่บุคคลทั้งในระดับ
ครอบครัวไปจนถึงระดับประเทศชาติจริยธรรมประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบที่
สำคัญคือ ระเบียบวินัย สังคม และอิสระเสรี การแบ่งประเภทของจริยธรรมแบ่งได้แบบกว้างๆ
เป็น 2 ประเภท คือ จริยธรรมภายนอก และ จริยธรรมภายใน จริยธรรมมีแหล่งที่มาจากต้น
กำเนิดหลายสาขาด้วยกัน คือ ด้านปรัชญา ศาสนา วรรณคดี สังคม การเมืองการปกครองและ
จากรากฐานที่กล่าวมาจึงค่อยๆ พัฒนามาเป็นจริยธรร

http://ubon.nfe.go.th/w00/pvch/jariyatum/lesson2.pdf

6.คุณลักษณะของจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของจริยธรรมเพื่อให้เห็นเด่นชัดในด้านหนึ่งและมีความแตกต่างจากจริยธรรมด้านอื่น ๆ ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการศึกษาหลายหน่วยงาน ได้กำหนดโครงสร้างจริยธรรม พร้อมทั้งกำหนดคุณลักษณะของจริยธรรม ไว้ดั้งนี้

1) ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียดรอบคอบ มีความพากเพียรพยายามเพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย

2) ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริง ทั้งการ วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น

3) ความมีเหตุผล หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพิสูจน์ สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประจักษ์ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นในความคิดของตนเอง

4) ความกตัญญูกตเวที หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ หรือ สิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณ อาจกระทำด้วยสิ่งของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม

5) ความอุตสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงานหรือกิจกรรมที่ทำด้วยขยันขันแข็งกระตือรือร้น อดทน ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรคขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย่อท้อ

6) ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพียงเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน การให้ความร่วมมือในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน

7) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคม กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ กฏหมายและศลีธรรม

ความเสียสละ หมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังปัญญาของตนเอง

9) ความประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะพอควร เพื่อให้เกิดประโยชนสูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้มเฟือยจนเกิดฐานะของตน

10) ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราวต่างๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่มีความลำเอียงหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

11) ความเมตตากรุณา หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความสงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุข์

http://kmblog.rmutp.ac.th/chantana.p/?p=65

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น